วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564

7 ข้อเรียกร้อง หลีกเลี่ยงข้อหา กบฏแบ่งแยกดินแดน หะยีสุหลง โต๊ะมีนา

 


หะยีสุหลง คือครูสอนศาสนาและผู้นำจิตวิญญาณของชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จชต.

ซึ่งในขณะนั้น ราวปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ภายหลังการปฏิวัติ และเกิดมีกลุ่มขบวนการมุสลิมปัตตานี ก่อเหตุจลาจล โดยมี หะยีสุหลง เป็นผู้นำ สร้างความวุ่นวายไปทั่ว 3 จชต. เพื่อต่อต้านอำนาจรัฐบาล เกิดปัญหาความไม่เข้าใจกันในด้านภาษาและวัฒนธรรม จึงมีแนวความคิดที่จะปกครองตนเองโดยการแบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัด แต่ก็กลัวถูกข้อหากบฏ จึงได้เสนอคำเรียกร้อง 7 ข้อ แก่รัฐบาล โดยอาศัยหลักการจิตวิทยา ดังนี้

           1. ขอให้มีการปกครองใน 4 จังหวัดปัตตานี สตูล ยะลา นราธิวาสโดยมีผู้ดำรงตำแหน่งอย่างสูง ให้มีอำนาจในการศาสนาอิสลามและมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการใน 4 จังหวัดโดยสมบูรณ์ และให้ออกโดยเหตุประการต่างๆ ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งสูงนี้ต้องเป็นมุสลิมใน 4 จังหวัดนี้ และเป็นผู้ที่ได้รับเลือกจากปวงชนมุสลิมภาคนี้ โดยจะให้มีกำหนดเวลาดำรงตำแหน่งตามทางราชการก็ได้  

           2. ข้าราชการแต่ละแผนกใน 4 จังหวัดนี้ให้มีอิสลาม 80 เปอร์เซ็นต์ประกอบอยู่ด้วย  

           3. การใช้หนังสือในราชการให้ใช้ภาษามลายูและให้ควบกับภาษาไทยด้วย เช่น แบบฟอร์ม หรือใบเสร็จต่างๆ จะต้องให้มีภาษามลายูใช้ด้วย

           4. การศึกษาโรงเรียนชั้นประถมให้มีการศึกษาภาษามลายูตลอดประถมบริบูรณ์

     5. ขอให้มีศาลรับพิจารณาตามกฎหมายอิสลามแยกออกจากศาลจังหวัดที่มีแล้ว มีโต๊ะกาลีพอสมควรและมีเสรีในการพิพากษาชี้ขาดความโดยจะฟังเสียงผู้ใดไม่ได้ นอกจากผิดหลักกฎหมาย

           6. ผลประโยชน์รายได้ต่างๆ จะต้องใช้จ่ายในภาค 4 จังหวัดนี้ โดยไม่แบ่งจ่ายให้แก่ที่อื่นเลย
       7. ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนี้มีเอกสิทธิ์ออกระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนาอิสลามโดยเห็นชอบผู้มีอำนาจสูง (ตามข้อ 1)

เป็นไงครับ 7 ข้อทรราช อ่านแล้วก็เหมือนไม่มีอะไรรุนแรง ก็ปกติทั่วไป ไม่เห็นมีบอกเลยว่าอยากขอแบ่งแยกดินแดน ถ้าคิดเช่นนี้เท่ากับว่าคุณติดกับดักที่วางไว้แล้ว เรามาตีความหมายของแต่ละข้อแบบบ้านๆ กันดูครับ

           1.เขาต้องการปกครองตนเองโดยครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนใต้ โดยมีผู้นำสูงสุดเป็นมุสลิมในพื้นที่ มีอำนาจเด็ดขาดในการแต่งตั้ง เลื่อนยศ ปลด ย้าย ข้าราชการใน 4 จังหวัดโดยสมบูรณ์ รัฐบาลไทยจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องตรงนี้เลย สุดท้ายเมื่อได้เป็นเอกเทศเช่นนั้นแล้วก็จะเรียกร้องแบ่งแยกดินแดนต่อไป

           2. ข้าราชการแต่ละส่วนจะต้องมีมุสลิม 80 เปอร์เซนประกอบอยู่ด้วย มุสลิมต้องมาก่อนศาสนาอื่นในพื้นที่ตรงนี้

           3. ให้ใช้ภาษามลายูในหนังสือราชการควบคู่กับภาษาไทยด้วยก็ได้ อันนี้พยายามบอกว่าพื้นที่นี้มีภาษาของตนเอง แต่ทำให้ดูลดความกระด้างกระเดื่องลงด้วยการใช้คำว่า “ควบคู่กับภาษาไทย”

           4.ให้ใช้ภาษามลายูในการสอนนักเรียนในชั้นประถมศึกษาเท่านั้น ข้อนี้สำคัญเลยเพราะจะทำให้เด็กไม่รู้ภาษาไทย สังเกตดูว่าคนแก่ในพื้นที่ส่วนใหญ่พูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ เพราะถูกปิดกั้นการใช้ภาษามาตั้งแต่สมัยก่อน และยิ่งถ้าไม่มีครูไทยพุทธด้วยละก็ เด็กๆ โดนกล่อมประสาทหมดโรงเรียนแน่

           5.ขอใช้ศาลอิสลามหรือกฎหมายชารีอะห์ โดยไม่จำเป็นต้องมีศาลไทยหรือกฎหมายไทย ซึ่งที่นี่เป็นประเทศไทยสมควรต้องใช้กฎหมายไทยและรัฐธรรมนูญไทย เท่านั้น

           6.ภาษีที่เก็บได้จากคนในพื้นที่ให้ใช้เฉพาะใน 4 จังหวัดเท่านั้น ห้ามนำออกไปให้จังหวัดอื่น แต่สามารถรับจากที่อื่นเข้ามาได้ เอออันนี้ฉลาดดี รับได้แต่ให้ไม่ได้

           7.ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีส่วนในการออกระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติทางศาสนาอิสลามโดยผ่านผู้นำสูงสุดในพื้นที่ 4 จังหวัด อันนี้ก็ปกติ ไม่มีอะไร และปัจจุบันรัฐบาลไทยก็สนับสนุนการปฏิบัติทางศาสนาอิสลามอย่างดี และต่อเนื่องเป็นประจำ บางครั้งดีกว่าไทยพุทธเสียอีก

 

ถ้าเขาขอปกครองตนเองได้ มีหรือที่จะไม่ขอแบ่งแยกดินแดน 7 ข้อนี้มันแค่จิตวิทยาหลอกเด็กเฉยๆ แต่ผู้นำประเทศเราเขาไม่ใช่เด็กนะสิ ถ้าปล่อยให้มีการปกครองตนเอง ตั้งแต่ตอนนั้นนะ เราจะไม่มีด้ามขวานจวบจนปัจจุบันเป็นแน่แท้

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564

ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีก 3 เดือน กดดันแนวร่วม RKK


 

เมื่อวันที่ 4 มี.ค.2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 1/2564 โดยที่ประชุมได้รับทราบผลการปฏิบัติงานตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ระหว่างวันที่ 20 ธ.ค.2563-20 ก.พ.2564 ซึ่งในภาพรวมมีสถานการณ์ดีขึ้น เหตุการณ์การก่อเหตุรุนแรงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสถานการณ์ด้านการข่าว พบว่าผู้ก่อเหตุความรุนแรงยังมีสิ่งบอกเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงรูปแบบอื่น ๆ ในพื้นที่ จึงยังมีความจำเป็นที่จะต้องคงการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อไปอีก



ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบเรื่องที่ กอ.รมน.ภาค4 ส่วนหน้า ดำเนินการจัดทำแผนการปรับลดพื้นที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงการส่งเสริมให้มีการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่

คณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาเห็นชอบ ตามที่ กอ.รมน.ภาค 4 เสนอขอขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยกเว้น อ.แม่ลาน, อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี, อ.เบตง จ.ยะลา และ อ.สุไหงโก-ลก, อ.สุคิริน, อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ออกไปอีกเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ 20 มี.ค-19 มิ.ย.64 (ครั้งที่ 63) เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ให้มีความต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ


การต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ 3 จังหวัดนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะง่ายต่อการบังคับใช้กฎหมาย ติดตาม จับกุม และสามารถกดดันกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ให้ยอมจำนน ซึ่งหลายกรณีที่เมื่อก่อเหตุแล้วจะกลายร่างเป็นชาวบ้านธรรมดาทั่วไป เดินปะปนกับคนในหมู่บ้าน ยากต่อการติดตามจับกุม หากหลักฐานไม่แน่นหนาพอ


ให้รู้จักถอยบ้าง ปัญหามันจะได้ไม่ลามไปถึงคนอื่น


 

BRN หรือขบวนการแบ่งแยกดินแดนทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย พยายามผลักดันตนเองให้เข้าสู่เวทีระดับโลก โดยการให้แนวร่วมฝ่ายภาคประชาสังคม ฝ่ายการเมือง อาศัยหลักสิทธิมนุษยชน หลักกฎหมายระหว่างประเทศ ให้เข้ามามีบทบาทในพื้นที่ โดยให้เหตุผลต่อองค์กรต่างชาติว่าที่นี่คือ “พื้นที่สงคราม” “พื้นที่ที่ขัดแย้งกันทางอาวุธ” แต่จริงๆ แล้ว มันไม่ใช่ มันไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กล่าวอ้าง จะเรียกสงครามศาสนาก็ไม่ได้ ในเมื่อรัฐสนับสนุนแต่อิสลามในพื้นที่ สงครามการเมืองก็ไม่ใช่อยู่ดี เพราะพรรคการเมืองอิสลามก็มีในพื้นที่ พอก่อเหตุก็ไม่มีหน้าไหนออกมายอมรับ กลัวโดนจับกันหมด แม้แต่กลุ่ม BRN เอง

ยังแตกแยกกันเองเลย แล้วนับประสาอะไรจะมาเรียกร้องแบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัด พี่น้องไทยมุสลิมต้องเสื่อมเสียเพราะกลุ่มสุดโต่งอย่าง BRN คนในพื้นที่ไม่ต้องการกลุ่มสุดโต่งเหล่านี้ นอกจากไม่ได้ช่วยพัฒนาพื้นที่แล้ว ยังคอยเติมเชื้อไฟให้ลุกโชนอยู่ตลอดเวลา ยังมีหน้ามาถามรัฐว่า “ที่ผ่านมา 17 ปี ทำไมแก้ปัญหาไม่ได้เสียที”   ถุย!

 

ไฟใต้ดับได้ ถ้าช่วยกันดับ ปัญหามันจะได้ไม่ลามไปถึงรุ่นลูก รุ่นหลานของเรา


วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2564

ตลกหรือซีเรียส เธอพกระเบิดมาไหม? คำถามที่ติดตัวคนสามจังหวัด


 

เป็นคำถามที่เหมือนจะติดตัว

คนใน 3 จังหวัด ไปทุกที่

เมื่อต้องเดินทางไปเรียนหรือไปทำงาน

ในต่างจังหวัด


ไปไหนมาไหน ถูกถามตลอด

ว่าเอาระเบิดมาด้วยรึป่าว

กลายเป็นเรื่องตลก ขบขัน

นำมาพูดเล่นในเชิงหยอกล้อ


แต่ลึกๆ มันไม่ใช่เรื่องตลกเลยนะ

อาจเป็นเรื่องที่คนต่างจังหวัด

เข้าไม่ถึงด้วยซ้ำกับคำถามนี้

 

คนทั่วไปต้องพลอยถูกบูลลี่ไปด้วย เพราะการกระทำของคนกลุ่มเดียว

RKK หลายคนเมื่อก่อคดีแล้ว อาจจะหนีไปกบดานที่ใดที่หนึ่ง ในป่าเขา ต่างประเทศ ต่างจังหวัด ฝ่ายที่สนุบสนุน BRN แม้ไม่ได้ก่อคดี แต่ก็มีนัยยะในการเติมเชื้อไฟให้คนในสังคมแตกแยกกันไปใหญ่

 

อย่าทำให้คนสามจังหวัดต้องพลอย “ติดร่างแห” ไปด้วย

ประหารชีวิต RKK ศาลปัตตานีลงโทษ 10 โจรใต้ ก่อเหตุระเบิด 6 จุด


 

เมื่อวันที่ 2 มี.ค.64 ศาลจังหวัดปัตตานีพิพากษา คดีเหตุระเบิดวินาศกรรม 6 จุด ในพื้นที่เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี เหตุเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2559

คดีดังกล่าวมีจำเลย 10 ราย ดังนี้

นายมะซัน สาและ จำเลยที่ 1 (จำคุกตลอดชีวิต)

นายอับดุลเลาะ หะยีอูมาร์ จำเลยที่ 2 (จำคุกตลอดชีวิต)

นายอิบรอเห็ม ยูโซ๊ะ จำเลยที่ 3 (ประหารชีวิต)

นายอัมรีย์ ลือเย๊าะ จำเลยที่ 4 (ประหารชีวิต)

นายสันติ จันทรกุล จำเลยที่ 5 (ประหารชีวิต)

นายอายุบ เปาะลี จำเลยที่ 6 (ประหารชีวิต)

นายฮามิด เจะมะ จำเลยที่ 7 (จำคุก 36 ปี 8 เดือน)

นายอิสมาแอ ตุยง จำเลยที่ 8 (ประหารชีวิต)

นายรูสลัน แวหะยี จำเลยที่ 9 (จำคุกตลอดชีวิต)

นายนิรอนิง นิเดร์ จำเลยที่ 10 (ประหารชีวิต)

 

ศาลฎีกาพิพากษาว่า ความผิดของจำเลยทั้ง 10 ความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธเพื่อก่อการร้าย เป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษฐานร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธเพื่อก่อการร้าย ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 โดยเมื่อรวมกับโทษฐานอื่นแล้ว ศาลได้พิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 9 ตลอดชีวิตเพียงสถานเดียว


และได้มีคำพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ที่ 8 และที่ 10 เพียงสถานเดียว ส่วนจำเลยที่ 7 ให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 36 ปี 8 เดือน"


กลับตัวกลับใจตอนนี้ยังไม่สาย สงสารพ่อแม่ ลูกเมียบ้าง หากเราโดนจับหรือตายไป เขาจะอยู่กันอย่างไร ขบวนการจะมาช่วยเหลือดูแลเราหรอ “ผู้พ่ายแพ้ก็ต้องดูแลตัวเอง”

กัสตูรี มะโกตา ในฐานะประธานกลุ่ม PULO พูดคุยในโต๊ะเจรจาออนไลน์


 

เปิดเวที ทบทวน 8 ปีการพูดคุยสันติภาพ รูปแบบคอนเฟอเรนซ์ ผ่านรายการ BICARA PATANI เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 28 กุมภาพันธ 2564 เวลา 14.00-15.30 น.


คำพูดที่หลุดจากปากของประธานพูโล "กัสตูรี มะโกตา" บ่งบอกถึงการแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจนของกลุ่มที่คิดต่างจากรัฐกลุ่มต่างๆ รวมไปถึงการคาดหวังในอนาคตเมื่อมีการแบ่งแยกดินแดนสำเร็จ การวางตัวผู้นำในการบริหาร แน่นอนย่อมมีการแย่งชิงกันของอำนาจที่หอมหวานเย้ายวน


ข้อความตอนหนึ่งที่มีการถอดคำแถลงของประธาน PULO ในการแก้ไขปัญหาโดยอาศัยวิธีการทางการเมือง ไม่ใช่แค่ต้องมีแนวคิด inclusivity แต่ต้องมีเจตจำนงทางการเมืองด้วย ทั้งสองฝ่าย (คู่กรณี) ยังไม่แสดงเจตนำนงทางการเมืองที่ชัดเจน และยังไม่มี inclusivity ที่จริงใจด้วย นักต่อสู้ปาตานี พร้อมที่จะสร้างความไว้วางใจกับศัตรู แต่ไม่ยอมสร้างความไว้วางใจในหมู่นักต่อสู้กันเอง ฝ่ายสยามขาดเอกภาพเพราะแย่งชิงงบประมาณ ส่วนฝ่ายขบวนการก็แย่งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของรัฐปาตานี (ในอนาคต) แต่กระบวนการสันติภาพที่ขาดเอกภาพก็จะไม่ประสบความสำเร็จดังเช่นกรณีของปาเลสไตน์และพื้นที่อื่นๆ ถ้าจะแก้ไขปัญหาจริง ๆ เราก็ต้องหยิบยกประเด็นรากเหง้ากว่าจะสามารถก้าวหน้าได้อีก


ขบวนการแบ่งแยกดินแดนมีหลายกลุ่ม แบบนี้จะแบ่งกันยังไง


ฮาซัน ยามาดีบุ ขับเคลื่อนงานการเมือง แก้ต่างให้ BRN ดูดีในเวทีโลก


 

ฮาซัน ยามาดีบุ ประธานกลุ่มบุหงารายา ฝ่ายภาคประชาสังคมของ BRN ขับเคลื่อนงานการเมือง โดยชี้นำไปที่การมีตัวตน และอัตลักษณ์ของคนมสุลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลไทยไม่เคยปิดบัง หรือปิดกั้นคนไทยมุสลิมในพื้นที่แม้แต่น้อย มิหนำซ้ำยังสนับสนุน และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ให้ดีขึ้น

 

แต่หลายครั้งที่การพัฒนาพื้นที่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน เพราะมีทีมภาคประชาสังคมเหล่านี้ คอยขวางกั้น เหมือนไม่อยากให้พื้นที่ได้รับการพัฒนา ไม่อยากให้คนในพื้นที่อยู่ดีกินดี หากคนในพื้นที่อยู่ดีกินดี ผมเชื่อว่าขบวนการแบ่งแยกดินแดนก็จะอยู่ดีกินดีไปด้วย และก็ไม่อยากแบ่งแยกดินแดนอีกต่อไป

 

ฮาซัน พยายามผลักดันเกมการเมือง เพื่อให้ BRN ดำเนินงานได้สะดวก โดยเขาจะแก้ต่างให้ BRN ดูดี มีตัวตน ได้รับการยอมรับในเวทีโลก และพยายามดึงองค์กรต่างชาติเข้ามาแทรกแซง ซึ่งอ้างว่า “แก้ไขปัญหา” การแก้ไขปัญหาไม่ใช่การดึงองค์กรต่างชาติเข้ามาเพื่อให้เข้ามาจัดการการปกครองในพื้นที่ แต่มันเป็นการสร้างงานสร้างเงิน ให้องค์กรภาคประชาสังคมเถื่อน ที่หวังดูดเงินต่างชาติเข้ามา โดยที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องจากรัฐบาลไทย กระนั้นในปัจจุบันรัฐบาลไทยมีมติเห็นชอบร่างกฎหมายควบคุมองค์กรที่ไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องเหล่านี้ ซึ่งหากตรวจพบอาจถึงขั้นยุบองค์กรเลยก็ว่าได้